วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

อิมเอี้ยง หรือ หยินหยาง

อิมเอี้ยง หรือ หยินหยาง เป็นคำสรรพนามที่ใช้เรียกสรรพสิ่งหรือสภาวะของ 2 อย่างตรงกันข้ามกัน       
อิม หมายถึง    กลางคืน    มึด    ดำ    อยู่กับที่     เย็น   ตาย  ฯลฯ
เอี้ยง หมายถึง  กลางวัน    สว่าง  ขาว  เคลื่อนไหว  ร้อน  เกิด   ฯลฯ  ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม แต่แท้จริงแล้วล้วนพึ่งพาอาศัยกัน มีมากมีน้อยหมุนเวียนถ่ายเทกันและไม่สามารถอยู่ได้เพียงลำพังอย่างเดียว ฟ้าเวียนไปรอบนึงเท่ากับแผ่นดิน(โลก)เวียนไปหนึ่งรอบ คือ1วัน  ตะวันและเดือนจะส่องแสงสว่างให้แก่พื้นโลกสลับกัน ทำให้เกิดมีกลางวันและกลางคืนของโลก  การหมุนเวียนไปข้างหน้า เคลื่อนไปรอบดวงอาทิตย์อย่างไม่หยุดยั้งนี้ จึงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทั้งสี่ต่อเนื่องกัน 
วัฐจักรของความเปลี่ยนแปลงคือ เมื่อถึงที่สุดของหยินแล้ว หยางก็จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อถึงที่สุดของหยางแล้ว หยินก็จะตามมา  ฉะนั้นสรรพสิ่งทั้งหลายท่ามกลางฟ้าดินซึ่งอยู่ภายใต้ตะวันเดือน จึงตกอยู่ในวัฐจักรของการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น คนเราเกิดมาท่ามกลางพลานุภาพอันสุขุมของฟ้าดิน เจริญเติบโตขึ้นภายใต้พลังแห่งตะวันเดือน ด้วยกายสังขารที่เป็นสภาวะหยิน และมีสภาวะหยางเมื่อร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไม่มีขณะใดเลยที่คนเราไม่ได้อยู่ภายใต้การคลอบคลุมของฟ้าและการรองรับของแผ่นดิน ไม่มีขณะใดเลยที่มิได้ตกอยู่ภายใต้การแสงส่องของตะวันและเดือน  


ดาวเดือนมีภาวะเป็นหยิน ปรากฏในเวลากลางคืน ภาวะของหยินที่สงบนิ่งผู้คนจึงต้องเข้าสู่ภาวะสงบนิ่งตามไปคือต้องหลับนอน เมื่อตะวันพ้นขอบฟ้าเวลาเช้าเป็นภาวะของหยาง ผู้คนตื่นขึ้นเคลื่อนไหวเข้าสู่ภาวะของหยาง สรรพสิ่งดำเนินชีวิตไปตามสภาวะของฟ้าดินจนจบสิ้นอายุ ตายไปเข้าสู่ภาวะหยิน คือเวียนไปสู่ความเป็นวิญญาณในความมืด และจบสิ้นจากภาวะหยินเป็นหยางอีกครั้ง เมื่อเวียนมาเกิดเป็นสัตว์หรือคนใหม่ในโลกมนุษย์

วัฐจักรของชีวิต การเกิดมีหกช่องทางคือ เกิดเป็นเทพเทวดา มนุษย์ อสูร เปรต เดรัจฉาน และผีนรก 
มีรูปกำเหนิดของการเกิดสี่เหล่าคือ เกิดเป็นตัวตน เกิดเป็นฟองไข่ เกิดในน้ำ และเกิดในที่อับชื้น

เกิดเป็นคนร่ำรวยสูงศักดิ์ เมื่อรวยถึงที่สุด ความรวยก็จะลดน้อยถอยลงความจนก็จะเกิด เมื่อความจนตกถึงที่สุด (ตกท้องช้าง) ความรวยก็จะเกิดขึ้น(จนน้อยกว่าเดิม) เมื่อสูงศักดิ์ถึงที่สุด ความต่ำต้อยก็จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อต่ำต้อยถึงที่สุด ความสูงศักดิ์ก็จะเกิด สรรพสิ่งเมื่อถึงที่สุดของภาวะนั้นๆแล้ว จะแปรเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม ความสูงสุดต่ำสุดก็แล้วแต่เวรกรรมหรือบุญบารมีของแต่ละคน การดูดวงเป็นเพียงการดูบุญบารมีของแต่ละคน เพียงเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต รู้จังหวะรุกจังหวะถอย รู้หลบรู้หลีก รู้จักธรรมชาติ(บุญกรรม)ของดวงเรา นี่คือธรรม(ชาติ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น