วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ดวงจีน เป็นการดูดวงประเภทหนึ่งตามวัฒนธรรมความเชื่อของจีน  การสามารถจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสมให้กับผู้อยู่อาศัย  ซึ่งนั่นก็ต้องอาศัยการเข้าใจในดวงจีน   เช็คพื้นดวงของผู้อยู่อาศัยว่าธาตุสำคัญของเขาคือธาตุอะไร และไม่เพียงแค่รู้ว่าธาตุอะไร ยังต้องสามารถเจาะลงไปถึงว่าตัวอักษรตัวไหน   ที่ให้คุณแก่เจ้าชะตาอย่างสูงสุด แต่ซินแสทั่วไปมักจะบอกเพียงว่า เช่น "ธาตุไฟให้คุณ" ให้นอนหันศีรษะไปทางทิศใต้  แต่ธาตุไฟในทิศใต้ของหลอแกมีตัวหนังสือถึง 3 ตัวด้วยกัน และใน3ตัวนั้นก็บอกหน่วยย่อยขององศาที่ต่างกันออกไป คำถามคือ   ตัวหนังสือตัวไหนหละที่เหมาะกับคุณอย่างแท้จริง นั่นคือความไม่ละเอียดรอบคอบของซินแสทั่วๆไป   แล้วก็ปล่อยให้เจ้าของบ้านไปเสี่ยงโชคเอาเอง   อย่างนี้ถือว่าเป็นซินแสที่ไร้ความรับผิดชอบอย่างสูง
ดังนั้นในการเลือกใช้ซินแสไม่ใช่เลือกที่ชื่อเสียง  แต่กลับต้องเลือกที่ความละเอียดรอบคอบ และไม่ฉาบฉวย และจะต้องสามารถชำนาญในดวงจีนเป็นอย่างยิ่ง บททดสอบง่ายๆสำหรับซินแสบางจำพวก “แค่เราเอาดวงของเราให้เขาดู    หากเขาสามารถวิเคราะห์เรื่องราวต่างในชีวิตของเราได้  นั่นแปลว่าเขารู้เรื่องธาตุในดวงเราเป็นอย่างดี  แต่หากได้ยินซินแสตอบว่า “ฮวงจุ้ยไม่เกี่ยวกับดวงจีน” แปลว่าเรากำลังเจอซินแสจอมปลอมเข้าให้แล้ว เพราะเขาไม่รู้เรื่องธาตุในดวงของ เราเลย แล้วจะหาทิศที่เป็นคุณให้กับตัวของเราได้อย่างไร โปรดจงระวังให้ดี                จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 

สำหรับผู้ที่สนใจหรือมีความทุกข์ใจ อยากจะถามหรือวิเคราะห์เรื่องความทุกข์ของท่าน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต  ก็สามารถทำได้โดยพิมพ์  ชื่อเล่น  วัน  เคือน  ปี  เวลาเกิด  เพศ  โสด  สมรส  หย่าร้าง  และคำถามเพียง 1 คำถามเท่านั้น  ให้คลิกที่  ความคิดเห็น  แล้วพิมพ์ที่กรอบสี่เหลี่ยมเสร็จแล้วคลิกที่   ส่งความคิดเห็น  ผมจะตอบกลับมาที่ blog ภายใน 3 วันครับ

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

คุณสมบัติของธาตุทั้ง 5 

คุณสมบัติของธาตุดิน 
ลักษณะ    สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า 
                เป็นตัวแทนของพลังแห่งการรองรับทุกสรรพสิ่ง ความหนาแน่น และมุ่งสู่ภายใน 
สี              เหลือง ครีม น้ำตาล 
รสชาติ      หวาน 
อุปนิสัย     ซื่อสัตย์ มั่นคง หนักแน่น สุขุมอ่อนโยน 
อวัยวะ       กระเพาะ ลิ้น โครงกระดูก มือ แขน 
ทิศ           ศูนย์กลาง ตะวันตกเฉียง เหนือ/ใต้ ตะวันออกเฉียง เหนือ/ใต้ 
ธรรมชาติ   ภูเขา แผ่นดิน หิน ถ้ำ 
สัตว์          วัว ควาย แพะ มังกร สุนัข

คุณสมบัติของธาตุทอง 
ลักษณะ     วงกลม วงรี ครึ่งวงกลม
                 เป็นตัวแทนของพลังความแข็งแกร่ง เก็บซ่อน และติดพัน
สี              ขาวใส สีทอง สีแวววาว (ลูกแก้ว)
รสชาติ       เผ็ด
อุปนิสัย      กล้าหาญ กตัญญู ยุติธรรม เสียสละ ประนีประนอม
อวัยวะ       ปอด จมูก หลอดลม ลำไส้ใหญ่ กล้ามเนื้อ ศรีษะ
ทิศ            ตะวันตก ตะวันตกฉียงเหนือ
ธรรมชาติ   ท้องฟ้า อวกาศ อากาศ แร่ธาตุโลหะ
สัตว์           ลิง ไก
ฤดูกาล       ฤดูฝน

คุณสมบัติของธาตุน้ำ
ลักษณะ      รูปคลื่น รูปหกเหลี่ยม
                  เป็นตัวแทนของพลังแห่งการเคลื่อนที่ ความอิสระ และมุ่งลงล่าง
สี               น้ำเงิน ฟ้า ม่วงฟ้า ดำ เทา กรมท่า
รสชาติ         เค็ม
อุปนิสัย       มีสติปัญญา ฉลาดเฉลียว มีวาทะศิลป์ ลึกลับ
อวัยวะ        ไต กระเพาะปัสสาวะ หู เลือด น้ำเหลือง
ทิศ              เหนือ
ธรรมชาติ    มหาสมุทร แม่น้ำ ลำธาร น้ำตก บ่อน้ำ ทะเลสาป
สัตว์           หมู หนู ฤดูกาล ฤดูหนาว
ฤดูกาล       ฤดูหนาว

คุณสมบัติของธาตุไม้ 
ลักษณะ     เป็นแท่งยาว เป็นขยักเหมือนกิ่งไม้
                เป็นตัวแทนของพลังแห่งการเจริญ เติบโต และมุ่งสู่ข้างบน
สี              เขียว โทนเขียว
รสชาติ       เปรี้ยว
อุปนิสัย     มีเมตตากรุณา มีคุณธรรม ชอบความก้าวหน้า เคลื่อนไหว
อวัยวะ      ตับ เส้นเอ็น ดวงตา ขน เล็บ ผิวหนัง ผม ก้น ขา
ทิศ           ตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้
ธรรมชาติ  พืชพันธุ์ต่างๆ ป่าไม้ กระแสลม เชือก สวนไม้ ไร่นา
สัตว์           เสือ กระต่าย
ฤดูกาล     ฤดูใบไม้ผลิ

คุณสมบัติของธาตุไฟ 
ลักษณะ    แหลม รูปเปลวไฟ สามเหลี่ยม
                เป็นตัวแทนของพลังแห่งการขยายตัว พลังงานความร้อน และมุ่งสู่ภายนอก
สี             แดง แสด ชมพู ทับทิม
รสชาติ      ขม
อุปนิสัย     มีมารยาท เที่ยงตรงซื่อตรง มีวิชาการ ชอบศึกษา ปราชญ์
อวัยวะ      หัวใจ ริมฝีปาก ลำไส้เล็ก การสันดาปในร่างกาย
ทิศ          ใต้
ธรรมชาติ  ดวงอาทิตย์ พลังงาน ความร้อน การเผาผลาญ ไฟ
สัตว์         งู ม้า
ฤดูกาล     ฤดูร้อน

วัฏจักรการเปลี่ยนแปลงของธาตุทั้ง 5 
การก่อเกิดกัน 
ไม้กำเนิดไฟ     ธาตุไม้แห้งเฉาเป็นเชื้อเพลิงของไฟ
ไฟกำเนิดดิน    ธาตุไฟเผาไหม้แล้วทับถมเกิดเป็นดิน
ดินกำเนิดทอง  ธาตุดินมีแร่ธาตุแปรสภาพเป็นทองได้
ทองกำเนิดน้ำ   ธาตุทองเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว, น้ำ, ละอองน้ำได้
น้ำกำเนิดไม้     ธาตุน้ำไปเลี้ยง (รด) ต้นไม้ได้

การพิฆาตกัน
ไม้พิฆาตดิน     ธาตุไม้มีรากยึดดิน
ดินพิฆาตน้ำ     ธาตุดินดูดซับน้ำได้ เป็นเขื่อนกั้นน้ำได้
น้ำพิฆาตไฟ     ธาตุน้ำไปดับไฟ ควบคุมไฟได้
ไฟพิฆาตทอง   ธาตุไฟสามารถหลอมละลายทอง
ทองพิฆาตไม้   ธาตุทองเป็นโลหะ เป็นเครื่องมือตัดไม้ ตกแต่งต้นไม้

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

ธรรมชาติ แห่ง เต๋า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
" ธรรมชาติ หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทางกายภาพ และกล่าวถึงชีวิตโดยรวม ซึ่งเป็นขอบเขตของการศึกษาตั้งแต่ระดับภายในอะตอมไปจนถึงระดับจักรวาล "      
เป็นไงครับจากวิกิพีเดีย สั้นดีนะครับ สำหร้บผู้ที่จะศึกษาวิถีการรู้แจ้งแห่งพุทธ หรือการตระหนักรู้แห่งเต๋า เริ่มแรกต้องเข้าใจในเรื่องธรรมชาติภายนอกแล้วค่อยเข้ามาเข้าใจธรรมชาติ ภายในจิตวิญญาณของเรา
ธรรมชาติ คือ
 -  สิ่งธรรมดาที่เป็นจริง   มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ มีภูเขา แม่น้ำ
 - ไม่สามารถควบคุมได้   พายุ แผ่นดินไหว กลางวัน กลางคืน
 - เป็นต้นกำเหนิดของฟ้าดิน  แต่เดิมฟ้าดินไม่ได้แยกกันตอนโลกยังเป็นกลุ่มกาซ
 - เป็นจุดเริ่มต้นของสรรพสิ่ง  ทุกสรรพสิ่งล้วนเกิดจากธรรมชาติ
 - ก่อกำเนิดไม่หยุดยั้ง   เป็นไปตามธรรมชาติไม่มีที่สิ้นสุด
 - สงบนิ่ง ลึกซื้ง ว่างเปล่า เป็นสูญญตา
 - มีมืด มีสว่าง มีเกิด มีดับ  มีสภาวะเป็นทั้งรูปและนาม
 - เป็นความแน่นอนที่ไม่เปลี่ยนแปลง
 - มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน
 - เมื่อกระจายออกจะคลอบคลุมจักรวาล  เป็นพลังงานคลอบคลุมทั่วทั้งจักรวาล 
                  ผมว่าน่าจะรวมเรียกว่า " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "ครับ




วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

อิมเอี้ยง หรือ หยินหยาง

อิมเอี้ยง หรือ หยินหยาง เป็นคำสรรพนามที่ใช้เรียกสรรพสิ่งหรือสภาวะของ 2 อย่างตรงกันข้ามกัน       
อิม หมายถึง    กลางคืน    มึด    ดำ    อยู่กับที่     เย็น   ตาย  ฯลฯ
เอี้ยง หมายถึง  กลางวัน    สว่าง  ขาว  เคลื่อนไหว  ร้อน  เกิด   ฯลฯ  ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม แต่แท้จริงแล้วล้วนพึ่งพาอาศัยกัน มีมากมีน้อยหมุนเวียนถ่ายเทกันและไม่สามารถอยู่ได้เพียงลำพังอย่างเดียว ฟ้าเวียนไปรอบนึงเท่ากับแผ่นดิน(โลก)เวียนไปหนึ่งรอบ คือ1วัน  ตะวันและเดือนจะส่องแสงสว่างให้แก่พื้นโลกสลับกัน ทำให้เกิดมีกลางวันและกลางคืนของโลก  การหมุนเวียนไปข้างหน้า เคลื่อนไปรอบดวงอาทิตย์อย่างไม่หยุดยั้งนี้ จึงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทั้งสี่ต่อเนื่องกัน 
วัฐจักรของความเปลี่ยนแปลงคือ เมื่อถึงที่สุดของหยินแล้ว หยางก็จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อถึงที่สุดของหยางแล้ว หยินก็จะตามมา  ฉะนั้นสรรพสิ่งทั้งหลายท่ามกลางฟ้าดินซึ่งอยู่ภายใต้ตะวันเดือน จึงตกอยู่ในวัฐจักรของการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น คนเราเกิดมาท่ามกลางพลานุภาพอันสุขุมของฟ้าดิน เจริญเติบโตขึ้นภายใต้พลังแห่งตะวันเดือน ด้วยกายสังขารที่เป็นสภาวะหยิน และมีสภาวะหยางเมื่อร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไม่มีขณะใดเลยที่คนเราไม่ได้อยู่ภายใต้การคลอบคลุมของฟ้าและการรองรับของแผ่นดิน ไม่มีขณะใดเลยที่มิได้ตกอยู่ภายใต้การแสงส่องของตะวันและเดือน  


ดาวเดือนมีภาวะเป็นหยิน ปรากฏในเวลากลางคืน ภาวะของหยินที่สงบนิ่งผู้คนจึงต้องเข้าสู่ภาวะสงบนิ่งตามไปคือต้องหลับนอน เมื่อตะวันพ้นขอบฟ้าเวลาเช้าเป็นภาวะของหยาง ผู้คนตื่นขึ้นเคลื่อนไหวเข้าสู่ภาวะของหยาง สรรพสิ่งดำเนินชีวิตไปตามสภาวะของฟ้าดินจนจบสิ้นอายุ ตายไปเข้าสู่ภาวะหยิน คือเวียนไปสู่ความเป็นวิญญาณในความมืด และจบสิ้นจากภาวะหยินเป็นหยางอีกครั้ง เมื่อเวียนมาเกิดเป็นสัตว์หรือคนใหม่ในโลกมนุษย์

วัฐจักรของชีวิต การเกิดมีหกช่องทางคือ เกิดเป็นเทพเทวดา มนุษย์ อสูร เปรต เดรัจฉาน และผีนรก 
มีรูปกำเหนิดของการเกิดสี่เหล่าคือ เกิดเป็นตัวตน เกิดเป็นฟองไข่ เกิดในน้ำ และเกิดในที่อับชื้น

เกิดเป็นคนร่ำรวยสูงศักดิ์ เมื่อรวยถึงที่สุด ความรวยก็จะลดน้อยถอยลงความจนก็จะเกิด เมื่อความจนตกถึงที่สุด (ตกท้องช้าง) ความรวยก็จะเกิดขึ้น(จนน้อยกว่าเดิม) เมื่อสูงศักดิ์ถึงที่สุด ความต่ำต้อยก็จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อต่ำต้อยถึงที่สุด ความสูงศักดิ์ก็จะเกิด สรรพสิ่งเมื่อถึงที่สุดของภาวะนั้นๆแล้ว จะแปรเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม ความสูงสุดต่ำสุดก็แล้วแต่เวรกรรมหรือบุญบารมีของแต่ละคน การดูดวงเป็นเพียงการดูบุญบารมีของแต่ละคน เพียงเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต รู้จังหวะรุกจังหวะถอย รู้หลบรู้หลีก รู้จักธรรมชาติ(บุญกรรม)ของดวงเรา นี่คือธรรม(ชาติ)